วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1. มนุษยสัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญต่อองค์การอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข มีความสัมคัญต่อองค์การคือ ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มนุษยสัมพันธ์ช่วยส่งเสริม ความเข้าใจในระหว่าง สมาชิกของ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ การงาน ความเข้าใจอันดีมีผล ทำให้การประกอบธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกมีส่วนร่วม ในการแสดง ความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงานได้ มนุษยสัมพันธ์จึงมีผลช่วยให้เกิด การร่วมแรงร่วมใจในการประกอบธุรกิจการงาน
2.กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดี มีลักษณะที่ดีอย่างไรบ้าง อธิบาย
ตอบ 1.รู้จักให้อภัย ให้เวลา ให้โอกาสผู้อื่น ไม่ยึดติด ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จนขาดความยืดหยุ่น ต้องการให้คนอื่นรักเรา ต้องรักคนอื่นก่อน
2. จงเป็นผู้มีน้ำใจ น้ำคำที่ดี รู้จักช่วยเหลือคนอื่น พูดจากับคนอื่นให้ฟังแล้วรื่นหู หวานแบบมีความจริงใจกำกับ เราก็จะได้รับ ความจริงใจตอบ
3.จงเป็นคนเปิดเผย ไม่มีหน้ากากหลายชั้น จริงใจ ไม่เสแสร้ง การที่เราเปิดตน ยอมให้คนอื่นรู้จักตัวเราจะเป็นสิ่งที่คนอื่นชื่นชมเรา การเปิดตัวเป็นการ แสดงออกของความจริงใจ คบกันอย่างจริงใจไม่มีประโยชน์อื่นใดแอบแฝง สัมพันธภาพของคนดีถ้ารู้จักเปิดเผยตน
3.แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานควรปฎิบัติอย่างไรบ้าง อธิบาย
ตอบ การสำรวจตนเอง ในการสมาคมกับบุคคลอื่นในชีวิตประจำวันนั้น เราควรสำรวจตนเองว่าเรามีสิ่งใดบกพร่องมากไป หรือไม่ หากมีควรหาทางแก้ไขปรับปรุงตนเอง การชมตนเองมากเกินไปนั้นมีผลเสียมาก เช่น ทำให้บางคนลืมตัวคิดว่าตนเองดีแล้ว ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น แต่บางครั้งคำชมก็จำเป็นเหมือนกัน ถ้าคำชมนั้นเป็นคำชมที่จริงใจจากผู้อื่น อย่างไรก็ตาม เราควรรู้จักประมาณตน มองตนเองโดยไม่ลำเอียง หรือเชื่อคำชมของผู้อื่นง่ายเกินไป
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนั้น เราควรมีความจริงใจต่อเขา เนื่องจาก ความจริงใจต่อกันโดยไม่หวังผลประโยชน์แอบแฝงนั้น จะก่อให้เจตคิตที่ดีซึ่งกัน และกัน มีความไว้วางใจกัน อันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และแนบแน่นระหว่างเรากับบุคคลที่สมาคมด้วย
นอกจากนี้ เราควรสำรวจตนเองว่า เรามักติเตียนปมด้อยของผู้อื่น หรือไม่ และมีมารยาทในสังคม หรือไม่ เช่น การใช้กิริยา และวาจาที่สุภาพ การปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมของสังคม เป็นต้น หากเราปรารถนาจะสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นให้มั่นคง เราควรมองปมด้อยของผู้อื่นเป็นเรื่องธรรมดา และถ้าสามารถช่วยเหลือเขาได้ควรช่วยเหลือเขาตามสมควร เช่น เพื่อนติดสุราจนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ก็หาทางตักเตือน และแนะนำด้วยความหวังดี ให้กำลังใจแก่เขาให้กลับมทำงาน หรือศึกษาต่อตามปกติ เป็นต้น การมีมารยาทในสังคม นับว่าจำเป็นในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเช่นกัน เพราะช่วยให้คนเราปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามกาละเทศะ และก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในสังคม
4.การวางตนตามกาลเทศะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การวางแผนตามสถานะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
4.1 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงาน ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถือ ให้ความร่วมมือ และเชื่อฟังในสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลและบทบาทหน้าที่โดยปฏิบัติดังนี้1)ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามควรแก่ฐานะ
2)รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา ด้วยความสงบหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์หรือการโต้เถียง
3)ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อถือ
4)ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคำสั่งขององค์กร
5)เสนอข้อคิดเห็นโดยสุภาพอ่อนน้อม เมื่อผู้บังคับบัญชาถามความเห็น
6)หลีกเลี่ยงการรบกวนผู้บังคับบัญชาด้วยเรื่องเล็กน้อย
7)หลีกเลี่ยงการบ่นเรื่องงานที่ยากลำบากให้ผู้บังคับบัญชาฟัง
8)หลีกเลี่ยงการนินทาผู้บังคับบัญชาลังหลัง ถ้ามีปัญหาเรื่องงานเกิดขึ้น ควรหาโอกาสพูดกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง
9)หลีกเลี่ยงการตอบรับหรือปฏิเสธตลอดเวลา การที่จะตอบรับหรือปฏิเสธความเห็นของผู้บังคับบัญชา ควรให้เป็นไปตามเหตุผล
10)หลีกเลี่ยงการทำตัวแข่งกับผู้บังคับบัญชา
4.2 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับเดียวกันมักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุดต้องอาศัยความร่วมมือและน้ำใจช่วยเหลือกัน ดังนั้น การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันนั้น จึงต้องวางตนโดยเป็นผู้ให้มากที่สุดและปฏิบัติดีต่อกันให้มากที่สุด ซึ่งได้กล่าวโดยสังเขปดังนี้
1)มองเพื่อนร่วมงานในแง่ดี ให้ความจริงใจให้ความช่วยเหลือ
2)หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน
3)เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุยกัน
4)หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร
5)ให้การยกย่องชมเชยตามโอกาสอันควร
6)หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้น
7)หลีกเลี่ยงการทำตนเหนือเพื่อนร่วมงานหรือใช้วาจาข่มขู่
8)หลีกเลี่ยงการขอร้องให้ช่วยเหลือในบางเรื่องที่เล็กน้อยและเราทำเองได้
9)หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้ายหรือวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานลับหลัง
10)ให้อภัย ให้โอกาส เมื่อเพื่อนร่วมงานปฏิบัติผิดพลาด
4.3 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาการวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความสุขในการทำงานก็มักส่งผลเสียต่องาน นอกจานนั้น ผลงานของลูกน้องทุกคนทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วก็คือผลงานของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงควรต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ผลงานดีและมีบรรยากาศของความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวโดยสังเขปดังนี้
1)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเจริญก้าวหน้าโดยอาชีพ โดยอาจส่งไปอบรม สัมมนา ค้นคว้าวิจัย
2)สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนได้ทำงานที่เหมาะสมแก่ตนเองทั้งด้านความสามารถและบุคคิกภาพ
3)สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน เมื่อต้องการให้ทำงานใดและหลีกเลี่ยวการสื่อสารทางเดียวให้มากที่สุด
4)รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้อย่างไม่ลำบากและเป็นสุข
5)ยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปรากฏแก่ผู้อื่นเมื่อเขาทำดี แต่เมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นควรเชิญเข้าพบเพื่อพูดคุยกันเป็นการส่วนตัวในบรรยากาศของความจริงใจ
6)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในงานให้มาก โดยการประชุมปรึกษาเสนอความคิดเห็นและกระจายงานให้ผู้บังคับบัญชาแบ่งกันรับผิดชอบ
7)ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเป็นธรรม
8)หลีกเลี่ยงการยกตนเองว่าสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชาฃ
9)หลีกเลี่ยงการจับผิดผู้ใต้บังคับบัญชา
10)หลีกเลี่ยงการแสดงความอยากได้หรือการเบียดเบียนผู้ใต้บังคับบัญชา

ไม่มีความคิดเห็น: